วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 สารสนเทศ

1.ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของสิ่งที่เราสนใจ  ไม่ว่าจะเป็นคน  สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ  ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง 







2.สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานได้ และต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ






2.1 ระบบสารสนเทศ (information System : IS)  คือ การดำเนินงานกับข้อมูล ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรใช้ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ


การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ


สารสนเทศสามารถแบ่งประเภทได้ตามความต้องการที่จัดขึ้นได้ ดังนี้


1.) สารสนเทศที่ทำเป็นประจำ เป็นสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ


2.) สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่างๆ


3.) สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดขึ้นโดยเฉพาะ ในการดำเนินงานต่างๆ บางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ






3. ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ


3.1 บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและเข้าใจวิธีการที่ได้มาซึ่งสารสนเทศ


3.2 ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ


3.3 ฮาร์ดแวร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการหรือประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามต้องการ


3.4 ซอฟต์แวร์ คือ ลำดับขั้นตอนคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


3.5 ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ






4.ประเภทของข้อมูล


4.1 ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง อาจจะสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลได้


4.2 ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง






5. การประมวลผลข้อมูล ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การประมวลผลข้อมูลเป็นกระบวนการที่มีกระบวนย่อยหลายกระบวนการประกอบกันตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น






6. วิธีการประมวลผล


6.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลเดินทางไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง(terminal) ไปยังฐานข้อมูล


6.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม(batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ






7. การจัดการสารสนเทศ


7.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่าง เช่น การใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่านข้อมูลที่ใช้ดินสอดำระบายตำแหน่งที่กรอกข้อมูล


7.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อเก็บข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล


7.3 การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้ม เป็นขั้นตอนที่สำคัญ จำเป็นต้องแยกข้อมูลออกป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนจะได้สะดวก


7.4 การจัดเรียงข้อมูล ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง


7.5 การคำนวณ ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข ดังนั้นมีความจำเป็นในการคำนวณที่ได้มาจากข้อมูล


7.6 การทำรายงาน การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น


7.7 การจัดเก็บ ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ภายหลัง สมัยใหม่มักเปลี่ยนรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์


7.8 การทำสำเนา หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้


7.9 การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย






8.การแทนข้อมูล จากที่กล่าวมา สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล การประมวลผลข้อมูลส่วนใหญ่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเพื่อความรวดเร็วและความแม่นยำ  การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมี 2 สถานะ คือ ปิดและเปิด จึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลข 0 และ 1 ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น